Thanatophobia ลูกของคุณกำลังกลัวความตาย อยู่หรือเปล่า

A A
Oct 19, 2022
Oct 19, 2022
A A

Thanatophobia
ลูกของคุณกำลังกลัวความตาย อยู่หรือเปล่า

 

  •  Thanatophobia หรือความวิตกกังวลในความตาย เป็นอาการที่ค่อนข้างซับซ้อน มีความกังวลหรือกลัวความตายมากเกินไป หลีกเลี่ยงและวิตกกังวลเมื่อต้องเจอเรื่องความตายอย่างรุนแรง จนท้ายที่สุดทำให้คน ๆ นั้นไม่สามารถมีความสุขกับชีวิตได้อย่างเต็มที่
  • Thanatophobia อาจเกิดจากสภาพแวดล้อม ความเสียใจกระทันหันกับการจากไปของคนใกล้ตัว ผู้ที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังโดยเฉพาะถ้าโรคนั้นไม่มีวิธีรักษา หรือผู้ที่เคยถูกล่วงละเมิดทางเพศ ทางร่างกาย หรือทางอารมณ์ มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคนี้เช่นเดียวกัน
  • การเอาชนะภาวะ Thanatophobia นั้นไม่ต่างจากการรักษาความวิตกกังวลอื่น ๆ มากนัก การบำบัดด้วยการพูดคุย พฤติกรรมบำบัด แต่อย่างไรก็ตามการหลบหนีจากความคิดเรื่องความตายและการตายไม่ใช่คำตอบ อย่างน้อยควรฝึกรับความเครียดและปล่อยให้มันค่อย ๆ จางลงเพราะไม่ว่าจะอย่างไร ความตายเองก็เป็นส่วนหนึ่งของการมีชีวิตอยู่
  •  

ความตาย กับ การมีชีวิตเป็นสิ่งคู่กันเรามักจะเห็น และได้ยินข่าวการตายมากมาย ยิ่งอายุเยอะขึ้นความตายก็ดูจะยิ่งเข้าใกล้เรามากขึ้น เราเริ่มมีความกลัว ความระแวดระวังในการใช้ชีวิตมากขึ้น เพราะยิ่งโตเราต่างยิ่งรู้ว่าแท้จริงแล้วชีวิตเปราะบางแค่ไหน บางครั้งความคิดที่ว่าวันหนึ่งเราจะไม่มีอยู่อีกต่อไปอาจก่อกวนคุณภาพชีวิตประจำวันคนคนนั้นก็เป็นได้ วันที่คิดว่าตอนเราตายเราจะรู้สึกอย่างไร จะเจ็บปวดแค่ไหน อาจกลายเป็นคำถามที่เราพร่ำถามตัวเองทุกวันจนความกังวลนี้อาจสร้างความหวาดกลัว และวิตกกังวลอย่างรุนแรงซึ่งถูกนิยามความกลัวนี้ว่า Thanatophobia หรือความวิตกกังวลในความตาย 

Thanatophobia  เป็นอาการที่ค่อนข้างซับซ้อน มีความกังวลหรือกลัวความตายมากเกินไป หลีกเลี่ยงและวิตกกังวลเมื่อต้องเจอเรื่องความตายอย่างรุนแรง จนท้ายที่สุดทำให้คน ๆ นั้นไม่สามารถมีความสุขกับชีวิตได้อย่างเต็มที่ ซึ่งอาการของ Thanatophobiaอาจไม่ปรากฏตลอดเวลา แต่จะปรากฎก็ต่อเมื่อจะคิดถึงความตายหรือเห็นการตายของคนที่ตัวเองรักการสูญเสียอย่างกะทันหันหรือไม่คาดคิดจนทำให้เกิดการสูญเสียการควบคุมเช่น มีอาการตื่นตระหนกเมื่อคิดถึงความตาย หรือคุณอาจพยายามหลีกเลี่ยงการพูดถึงความตาย ซึ่งทุกคนสามารถประสบกับภาวะนี้ได้โดยไม่เกี่ยวข้องกับเพศ หรือวัย

 

Thanatophobia

 

สถิติ Thanatophobiaที่น่าสนใจคือ

ในแต่ละปีประมาณ 8% ของคนในสหรัฐอเมริกามีความหวาดเกี่ยวกับความตาย อายุเฉลี่ยที่เริ่มมีอาการของโรคกลัวความตายคือ 10 ปี 16% ของเด็กอายุ 13-17 ปีมีอาการกลัวความตาย โรคกลัวความตายส่งผลกระทบต่อผู้หญิงมากกว่าผู้ชายถึงสองเท่า เกือบ 60% ของผู้ที่เป็นโรคกลัวความตายมักจะฆ่าตัวตาย

จากสถิติจะเห็นได้ว่าแม้แต่เด็กก็เริ่มมีอาการกลัวความตายแล้ว แต่วิธีการรับรู้ต่อความตายของพวกเขาอาจจะแตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ผู้ใหญ่อย่างเรา ๆ อาจคิดเพียงว่าพวกเขาไม่เข้าใจความตายที่เกิดขึ้นแต่แท้ที่จริงเขามีการสัมผัสและรับรู้ได้ตามวัย และประสบการณ์ที่พบเจอ

  • เด็กวัยเตาะแตะและเด็กก่อนวัยเรียน (อายุไม่เกิน 6 ปี) พวกเขาไม่เข้าใจว่าความตายเป็นสิ่งที่ถาวรและทุกคนต้องตายในที่สุด เขาอาจจะรอคอยการกลับมาของคนที่หายไป การกอดและการอุ้มจะเป็นการปลอบประโลมเขาได้ดีที่สุด
  • เด็กเล็กวัยเรียน (อายุ 8 ปี ขึ้นไป)  เข้าใจว่าความตายเป็นสิ่งถาวร แต่พวกเขามักจะคิดว่ามีเพียงคนแก่เท่านั้นที่จะตาย เมื่อพวกเขาเจอกับความสูญเสีย เขาอาจจะโทษตัวเองและต้องการความมั่นใจจากผู้อื่นว่าพวกเขาไม่ใช่สาเหตุของการสูญเสียครั้งนี้
  • เด็กวัยเรียนที่โตแล้ว เริ่มเข้าใจความตายเหมือนผู้ใหญ่มากขึ้น และรู้ว่าไม่ใช่แค่ผู้สูงอายุเท่านั้นที่เสียชีวิต โดยที่ตระหนักว่าพวกเขาเองก็สามารถตายได้ เขาอาจกังวลถึงคนที่เสียไป รวมถึงจินตนาการถึงโลกหลังความตาย ความกังวลเหล่านี้อาจทำให้เด็กวิตกกังวลและหวาดกลัวมากขึ้น
  • วัยรุ่น มักจะพูดว่า “มันไม่ยุติธรรม” หรือคนที่พวกเขารัก “ไม่สมควรตาย” อาจจะมีความโกรธและซ่อนความโศกเศร้าไว้ แต่พวกเขาเข้าใจถึงความทุกข์ที่สมาชิกในครอบครัวรู้สึก พวกเขามักจะพยายาม “เข้มแข็ง” และไม่แสดงความเจ็บปวด

ความเศร้าโศกมักมาในทุกรูปแบบสำหรับเด็กที่ประสบปัญหานี้ การสังเกตและเอาใจใส่สามารถช่วยแบ่งเบาสิ่งที่พวกเขาแบกรับอยู่ นอกจากนี้ “การฟัง” เป็นหนึ่งในสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ผู้ใหญ่สามารถทำได้เพื่อช่วยเด็ก ๆ ออกจากความเศร้าได้ 

 

 

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็น Thanatophobia 

ความกลัว หรือวิตกกังวลเรื่องความตายเป็นเรื่องปกติทุกคนเองต่างก็ยอมรับกันอยู่แล้วว่าเราย่อมกลัวในระดับหนึ่ง สำหรับบางคนความกลัวสามารถผลักดันให้พวกเขามีชีวิตที่มีสุขภาพดีขึ้น แต่สำหรับบางคนความกลัวตายจะกลายเป็นปัญหาจนเริ่มรบกวนชีวิตและความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวัน ทั้งนี้คนบางกลุ่มอาจมีแนวโน้มในการกลัวความตายมากกว่าคนปกติโดยมีปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้

  • อาการบาดเจ็บ : โรคกลัวความตายอาจเกิดขึ้นจากการบาดเจ็บส่วนบุคคล ประสบการณ์ใกล้ตาย หรือจากการได้ยินคนอื่นพูดถึงประสบการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจของพวกเขา
  • สิ่งแวดล้อม : เด็กที่ถูกเลี้ยงดูมากับพ่อแม่ที่วิตกกังวลมากเกินไปสามารถพัฒนาทำให้เกิดความวิตกกังวลเกี่ยวกับความตายได้
  • ประวัติการล่วงละเมิด : ผู้ที่เคยถูกล่วงละเมิดทางเพศ ทางร่างกาย หรือทางอารมณ์ มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคกลัวมากกว่า
  • ความตายของผู้ปกครอง : ความวิตกกังวลเกี่ยวกับความตายสามารถเกิดขึ้นได้หลังจากคน ๆ นั้นประสบกับความตายของพ่อแม่หรือคนใกล้ชิด
  • การหย่าร้าง : เด็กที่พ่อแม่ต้องแยกทางหรือหย่าร้างมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคกลัวมากขึ้น
  • อายุ : Thanatophobia มักเกิดในคนวัยกลางคน เพราะในช่วงวัยนี้จะเริ่มประสบกับความตายของเพื่อน พ่อแม่ และพี่น้อง 
  • โรคเรื้อรัง : ผู้ที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังมักจะกลัวความตาย โดยเฉพาะถ้าโรคนั้นไม่มีวิธีรักษา

ไม่ว่าคุณจะมีบทบาทในชีวิตของเด็กอย่างไร ก็สามารถสร้างระบบการศึกษาแบบองค์รวมได้โดยหมั่นพัฒนาทักษะการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคม (Social and Emotional Learning Skills: SEL) ให้เกิดขึ้นทั้งภายในตัวเอง

 

วิธีรับมือกับThanatophobia เริ่มได้ตั้งแต่ยังเด็ก

สอนให้เด็กเข้าใจตัวเองและรับมือกับการเปลี่ยนแปลง  Social and Emotional Learning Skills หรือ SEL หมายถึงกระบวนการที่เด็กเข้าใจและสามารถจัดการกับอารมณ์ของตนเองได้ รู้จักตั้งเป้าหมาย มีความรับผิดชอบ รวมถึงเข้าใจผู้อื่น และรู้จักรักษาความสัมพันธ์ในเชิงบวก การระบาดของโควิดส่งผลกระทบต่อจิตใจคนทุกวัย เด็กส่วนใหญ่มีความเครียดทางด้านสุขภาพจิตทั้งจากการเผชิญทุกภาวะที่กล่าวมา  SEL จะช่วยให้เด็ก ๆ เรียนรู้ความโดดเดี่ยวและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในสถานการณ์ที่ต้องจัดการอารมณ์ ความสัมพันธ์ และทักษะการแก้ปัญหา หรือที่เรียกว่า ความฉลาดทางอารมณ์ 

ดังนั้น SEL จึงเป็นกระบวนการสำคัญที่จะทำให้เด็ก ๆ เกิดความเข้าใจในสถานการณ์ที่กำลังเผชิญ และจัดการกับความรู้สึกตัวเองได้ เพราะเมื่อรู้สึกเครียด สมองในส่วนที่ชื่อว่า Amygdala จะทำหน้าที่ตอบสนองต่อความกังวล ส่งผลให้สติ การควบคุมตัวเองลดลง แต่หากเด็กมีสติรู้ตัวเอง (self-awareness) รู้เท่าทันอารมณ์ตัวเอง ก็จะสามารถหาวิธีผ่านพ้นปัญหาเหล่านั้นได้ เช่น การฟังเพลง หรือเล่นกีฬาเพื่อผ่อนคลายความเครียดนอกจากนี้ SEL ยังช่วยให้เด็กมีความเข้าใจผู้อื่น ซึ่งจำเป็นอย่างมากในวิกฤติที่ทุกคนกำลังเผชิญโดยช่วยให้นักเรียนสามารถแสดงความรู้สึก ความคิด และบอกเล่าประสบการณ์ของตนเอง  ทำให้พวกเขาได้มีโอกาสทบทวนอารมณ์ ความรู้สึก เรียนรู้การแสดงออกผ่านวิชาต่าง ๆ เช่น ศิลปะ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ เช่น การวาดรูป เขียนเรียงความ หรือเชื่อมโยงประสบการณ์ของตัวเองเข้ากับวิชาสังคมศึกษา ให้โอกาสเด็ก ๆ ได้แสดงทักษะทางเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่พวกเขาได้เรียนรู้ผ่านการเรียนออนไลน์ จะสามารถทำให้เด็ก ๆ เชื่อมต่อและมีส่วนร่วมกับเพื่อนร่วมชั้นได้ดีขึ้น การสอดแทรก SEL เข้ากับโครงสร้างของการเรียนรู้และชีวิตประจำวันสามารถทำได้ง่าย ๆ และปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์ เช่น 

  • ในชั่วโมง Home room หรือก่อนการเข้าสู่การสอนโดยตรง ควรมีการเริ่มต้นสั้นๆ เพื่อให้ทุกคนมีประสบการณ์เชิงโต้ตอบ เปิดโอกาสให้ทุกคนได้แสดงความคิดเห็นเป็นการ “เช็คอิน” เพื่อให้นักเรียนมีโอกาสได้รู้อารมณ์ของตนเอง (ความตระหนักในตนเอง) หรือสามารถแชร์ปัญหาที่มีเพื่อให้เด็กคนอื่น ๆ  รับรู้และเข้าใจในผู้อื่นมากขึ้น(การรับรู้ทางสังคม)
  • สร้างกลยุทธ์การมีส่วนร่วม เช่น การเล่นเกม เกมทำให้เด็ก ๆ ได้ใช้ปฏิสัมพันธ์ด้านต่างๆ ในการเล่นเช่น การร่วมมือกันเป็นทีม การตัดสินใจอย่างรับผิดชอบ กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ระหว่างเล่น หรือเกมที่ต้องใช้การวางแผน จะทำให้เด็ก ๆ มีสติ มีกระบวนการคิด และสมาธิในการจดจ่อมากยิ่งขึ้น
  • สร้าง “safe zone” ให้เกิดขึ้น เพื่อช่วยให้เด็กจัดการพฤติกรรมของตนเองได้ เป็นพื้นที่ที่กำหนดให้นักเรียนสามารถพูดคุยกับครูได้เมื่อพวกเขามีความเครียด 

และไม่ว่าคุณจะมีบทบาทในชีวิตของเด็กอย่างไร ก็สามารถสร้างระบบการศึกษาแบบองค์รวมได้โดยหมั่นพัฒนาทักษะการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคม (Social and Emotional Learning Skills: SEL) ให้เกิดขึ้นทั้งภายในตัวเอง และชุมชน รอบ ๆตัวเด็ก เพื่อให้เกิดเป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน สุดท้ายการเอาชนะภาวะ Thanatophobia นั้นไม่ต่างจากการรักษาความวิตกกังวลอื่น ๆ มากนัก การบำบัดด้วยการพูดคุย พฤติกรรมบำบัด แต่อย่างไรก็ตามการหลบหนีจากความคิดเรื่องความตายและการตายไม่ใช่คำตอบ อย่างน้อยควรฝึกรับความเครียดและปล่อยให้มันค่อย ๆ จางลงเพราะไม่ว่าจะอย่างไร ความตายเองก็เป็นส่วนหนึ่งของการมีชีวิตอยู่

 

อ้างอิง
https://mindlercare.com/uk/phobias/fear-of-death/
https://www.choosingtherapy.com/thanatophobia/
https://www.verywellhealth.com/thanatophobia-5192097
https://www.verywellmind.com/thanatophobia-2671879
https://www.talkspace.com/mental-health/conditions/thanatophobia/

Share

Authors

Authors

RELATED POSTS