แคนาดา สนามเด็กเล่นของคนเป็น “ครู”

A A
Mar 15, 2024
Mar 15, 2024
A A

แคนาดา สนามเด็กเล่นของคนเป็น “ครู”

 

  • ระบบการศึกษาแคนาดาได้ถูกจัดให้อยู่ในระบบการศึกษาที่ดีที่สุดในโลก โดยได้รับการจัดอันดับเป็นที่ 1 จาก UNESCO  
  • แคนาดาเลือกครูจากความต้องการของโรงเรียนมีการเข้าสัมภาษณ์อย่างเป็นทางการ นอกจากนี้ทุก 5 ปีโรงเรียนจะมีการตรวจมาตรฐานของครูเพื่อให้แน่ใจว่าครูในโรงเรียนนั้นได้รักษามาตรฐานไว้ตามกำหนด
  • แคนาดามีความยืดหยุ่นในการเลื่อนชั้นในเด็กที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าพวกเขามีความเชี่ยวชาญ ซึ่งทำให้นักเรียนที่เรียนวิชาเดียวกันสามารถขยับเรียนในชั้นเรียนที่สูงกว่าได้

 

 

หากพูดถึงประเทศแคนาดาคงจะหนีไม่พ้นนิยามของการเป็น 1 ในประเทศที่อากาศดี คุณภาพชีวิตดี เมืองดี บรรยากาศดี และอีกหนึ่งอย่างที่ไม่พูดถึงไม่ได้คือ  ระบบการศึกษา



แคนาดามีระบบการจัดการศึกษาอย่างไร

   

   ก่อนประถมศึกษา ไม่ได้บังคับ เด็ก ๆ สามารถเรียนก่อนเข้าเรียนชั้นบังคับเองก็ได้ ประถมศึกษา : การศึกษาภาคบังคับเริ่มตั้งแต่อายุ 6 ปี โดยเริ่มตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ไปจนถึงอายุ 10 หรือ 12 ปี มัธยมศึกษา : ตั้งแต่อายุ 10 หรือ 12 ปี จนถึงอายุ 16 หรือ 18 ปี คือเกรด 11 หรือ 12 

   ระบบบการศึกษาแคนาดาได้ถูกจัดให้อยู่ในระบบการศึกษาที่ดีที่สุดในโลก โดยได้รับการจัดอันดับเป็นที่ 1 จาก UNESCO  แคนาดาเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก มีประชากรประมาณ 36 ล้านคน และมีเศรษฐกิจอันดับที่ 6 ของโลก  นอกจากนี้ผลการสอบ PISA ของประเทศแคนาดาได้คะแนนสูงกว่าค่าเฉลี่ยของยุโรปและมากกว่าสหรัฐอเมริกาซะอีก

 

อะไรคือกุญแจสู่ความสำเร็จของระบบการศึกษาของแคนาดา

 

1. เลือกครูจากความต้องการของโรงเรียน

   ในแคนาดาไม่มีการสอบแข่งขัน แต่จะเป็นการคัดเลือกครูตามความต้องการ และตามกระบวนการอย่างแท้จริง โดยการคัดเลือกคุณสมบัตินี้จะถูกกำหนดไว้โดยผู้อำนวยการโรงเรียนแต่ละโรงเป็นหลักว่าต้องการครูสำหรับวิชาอะไรบ้าง และในการคัดเลือกครูผู้สมัครต้องจัดชั้นเรียนต่อหน้าคณะกรรมการ และเข้าสัมภาษณ์อย่างเป็นทางการ นอกจากนี้ทุก 5 ปีโรงเรียนจะมีการตรวจมาตรฐานของครูเพื่อให้แน่ใจว่าครูในโรงเรียนนั้นได้รักษามาตรฐานไว้ตามกำหนด

   นอกจากนี้ค่าตอบแทนของครูในประเทศสวีเดนก็มีค่าตอบแทนอยู่ที่ประมาณ 80,000 ดอลลาร์ต่อปี หรือประมาณ  2,855,840 ต่อปี เฉลี่ยเดือนละ 237,987 บาท และสามารถเกษียณได้เมื่ออายุ 54 ปี และยังมีสวัสดิการทันตกรรมอีกด้วย 

 

2. การผสมผสานระหว่างการปฏิบัติและการมีส่วนร่วม 

   ระบบการศึกษาของแคนาดามุ่งเน้นไปที่การปฏิบัติและการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน โดยครูจะให้ความสำคัญในการประเมินระหว่างทางตลอดปีการศึกษา ไม่ได้เน้นเฉพาะการสอบปลายภาคเพียงอย่างเดียว ทำให้นักเรียนส่วนใหญ่มีส่วนร่วมและกระตือรือร้นในชั้นเรียน นอกจากนี้ทุกวิชายังเน้นไปที่การทำงานและเน้นการปฏิบัติในชีวิตประจำวันอีกด้วย เป็นการเพิ่มมูลค่าการเรียนรู้ให้กับการเรียนรู้ของนักเรียน

 

3. ให้ความสำคัญกับกิจกรรมนอกหลักสูตร

   โรงเรียนในแคนาดาไม่ได้สนใจเฉพาะการเรียนรู้ในห้องเรียนเท่านั้น กิจกรรมนอกหลักสูตรก็มีความสำคัญเช่นเดียวกันไม่ว่าจะเป็น การเล่นกีฬา การเต้นรำ แสดงละคร ดนตรี ภาพยนตร์ ภาพถ่าย หรือหมากรุก โดยเน้นให้นักเรียนเรียนช่วงเช้าเป็นหลัก และช่วงบ่ายเน้นกิจกรรมนอกหลักสูตรเหล่านี้

 

 

canada classroom outdoor

 

 

4. ให้ความสำคัญทางด้านอารมณ์

   แคนาดาให้ความสำคัญกับการสอนทักษะเด็ก ๆ ทางด้านอารมณ์ทั้งการปฏิบัติต่อคนอื่น การแก้ไขการขัดแย้ง ความเห็นอกเห็นใจ ซึ่งการให้ความรู้ด้านอารมณ์กับเด็ก ๆ จะช่วยพัฒนาให้เด็ก ๆ มีพฤติกรรมเชิงบวกต่อสังคม

 

5. แตกต่างแต่ไม่แบ่งแยก

   ระบบการศึกษาในแคนาดาไม่มีระบบการศึกษาระดับชาติ แต่ละเมืองมีการทำงานที่ต่างกันมีอิสระต่อนโยบายด้านการศึกษา จากยุทธศาสตร์นี้ทำให้สามารถปรับเปลี่ยนระบบการศึกษาให้เหมาะกับความต้องการของแต่ละเมืองได้ โดยพิจารณาได้จากปัจจัยต่าง ๆ ทั้งจากทางสังคม และประชากร แต่ถึงจะมีนโยบายที่ต่างกันแต่ทุกพื้นที่ก็ทำงานร่วมกันเพื่อการเข้าถึงการศึกษาที่เท่าเทียม

 

6. ปรับห้องเรียนได้ตามการสอนของครู

   ในประเทศไทยเรามักจะมีเพื่อนชั้นเดียวกันที่เรียนด้วยกัน แต่ในแคนาดานักเรียนแต่ละชั้นมีเพื่อนร่วมชั้นเรียนที่ไม่เหมือนกัน  เพราะนักเรียนแต่ละคนจะมีวิชาที่เลือกที่ต่างกันไป และในแต่ละชั้นเด็ก ๆ อาจจะได้พบเพื่อนร่วมชั้นเรียนคนใหม่ โดยในแคนาดาครูไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนห้องเรียนในการสอนแต่ละคาบ  แต่จะเป็นนักเรียนเองที่เปลี่ยนห้องเรียนไปในแต่ละคาบ นอกจากนี้ครูสามารถปรับแต่งห้องเรียนของตนเองตามเทคนิคการสอนของครูเอง เรียกได้ว่าห้องเรียนเป็นเวทีเป็นพื้นที่การทำงานของครูโดยเฉพาะ

 

7. ยืดหยุ่นในการเลื่อนชั้น

   แคนาดามีความยืดหยุ่นในการเลื่อนชั้นในเด็กที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าพวกเขามีความเชี่ยวชาญ ซึ่งทำให้นักเรียนที่เรียนวิชาเดียวกันสามารถขยับเรียนในชั้นเรียนที่สูงกว่าได้ หากพวกเขาพิสูจน์ได้ว่าเขาเชี่ยวชาญในเนื้อหาเดิมที่เรียนแล้ว เช่น หากนักเรียนเรียนวิชาคณิตศาสตร์เกรด 8 และสามารถสอบได้คะแนนสูงกว่านักเรียนในชั้นเดียวกันได้ ก็สามารถขยับไปเรียนในเกรด 9 ได้ ความยืดหยุ่นนี้ทำให้เด็กมีแรงจูงใจในการพัฒนาในชั้นเรียน หลีกเลี่ยงความเบื่อหน่ายในห้องเรียน

 

อ้างอิง

https://additioapp.com/en/7-key-success-factors-of-canadian-education-system/

Share

Tag

Share

Authors

Authors

RELATED POSTS