Passion นั้นสำคัญไฉน ?

A A
Oct 23, 2022
Oct 23, 2022
A A

Passion นั้นสำคัญไฉน ?

 

  • คำว่า Passion ในทางจิตวิทยาถูกสรุปไว้ว่า ภาวะทางสมองส่วนหนึ่งที่ Nucleus Accumbens จะหลั่งฮอร์โมนที่ทำให้ร่างกายรู้สึกดี เมื่อเราประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ เช่น บางคนอาจชอบวิ่งมากจนตั้งเป้าหมายว่าจะวิ่งมาราธอนรายการใหญ่ให้สำเร็จ
  • จริง ๆ แล้ว Passion ไม่ใช่แรงขับเคลื่อนหลักเพียงอย่างเดียว
    ในชีวิตจริงยังมีแรงกระตุ้นอื่นอีกมากมาย และในทางจิตวิทยามีทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับ passion ไว้ 2 รูปแบบ คือ Obsessive passion และ Harmonious passion
  • Robert J. Vallerand ได้อธิบายแรงกระตุ้นทั้ง 2 แบบง่ายๆไว้ว่า ถ้าคุณเป็นนักฟุตบอลที่ Obsessive passion เวลาคุณเจ็บคุณฝืนเล่นต่อ คุณจะไม่สามารถควบคุมตัวเอง และมันจะให้คุณก็เจ็บหนักกว่าเดิม แต่ถ้าคุณเลือกให้มันเป็น Harmonious passion คุณจะใช้กระบวนการคิดและบังคับจิตใจได้ว่าเวลาไหนควรเล่น เวลาไหนควรพัก เพื่อให้ผลลัพธ์ออกมาอย่างที่ใจต้องการ
  •  

เราเชื่อว่าคุณเองอาจจะเป็นหนึ่งในนั้น

คนที่เบื่อหน่ายไม่อยากหยุดนาฬิกาปลุกในเช้าวันจันทร์ แค่คิดถึงงานเอกสารกองโตที่รอคุณอยู่ก็อยากจะคลุมโปงหลับไป ขอพรให้ตื่นอีกทีเย็นวันศุกร์เลยได้ไหม 

 

เมื่อสถานการณ์นี้เกิดขึ้นกับตัวเราในวัยยี่สิบกลางๆ 

หนึ่งในประโยคที่เราต้องถามย้ำๆกับตัวเองคือ เราขาดแรงขับเคลื่อนทางใจไปหรือเปล่า ? แรงขับเคลื่อนที่ใครๆก็เรียกว่า Passion

คำว่า Passion ในทางจิตวิทยาถูกสรุปไว้ว่า ภาวะทางสมองส่วนหนึ่งที่ Nucleus Accumbens จะหลั่งฮอร์โมนที่ทำให้ร่างกายรู้สึกดี เมื่อเราประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ เช่น บางคนอาจชอบวิ่งมากจนตั้งเป้าหมายว่าจะวิ่งมาราธอนรายการใหญ่ให้สำเร็จ เมื่อทำได้ตามที่หวังไว้ก็เกิดความรู้สึกดีจากความสำเร็จนั้น เราจะได้เห็นคำนี้บ่อยๆ ตามสื่อสังคมออนไลน์ ตามเวทีทอค์กโชว์ที่บุคคลประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานสลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันมาพูดสร้างกำลังใจ เกิดเป็นวาทะกรรมคำคมมากมายให้เรารู้สึกมีพลัง คำถามคือมันง่ายอย่างที่เขาพูดกันจริงหรือ ? แล้วถ้าไม่มี Passion ล่ะผิดไหม ?

 

 จริง ๆ แล้ว Passion ไม่ใช่แรงขับเคลื่อนหลักเพียงอย่างเดียว

ในชีวิตจริงยังมีแรงกระตุ้นอื่นอีกมากมาย และในทางจิตวิทยามีทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับ passion ไว้ 2 รูปแบบ คือ Obsessive passion และ Harmonious passion 

โดย Obsessive passion คำแปลภาษาไทยแบบเข้าใจง่ายคือ แรงกระตุ้นแบบหมกหมุ่น หมกหมุ่นยังไง ? มันคือความหมกหมุ่นที่กิจกรรมนั้นมันต้องโดนใจมากๆ หรือได้รับแรงกดดันทางสังคมมากๆ จนทำให้เราสูญเสียการควบคุมตนเอง สามารถหมดเวลากับกิจกรรมนั้นได้เป็นวันๆโดยไม่เบื่อ

ยกตัวอย่างเช่น วัยรุ่นสายเกมเมอร์ที่อดใจไม่ไหวเห็นเกมแล้วอยากเล่นจนมือสั่น หรือจะเป็นอีกกรณีที่พลังสังคมเริ่มเข้ามามีบทบาทในการกดดันเรา เช่น ซีรี่ส์เกาหลีเข้ามาใหม่เมื่อคืน แล้วรุ่งเช้ามาเพื่อนที่ออฟฟิศเริ่มจับเข่าคุยเรื่องนี้ข้ามโต๊ะเรา จากสถานการณ์นี้ Obsessive passion จึงเกิดขึ้นภายในทำให้เราอยากดู เพื่อที่จะร่วมวงสนทนากับเพื่อนคนอื่นได้

ในงานวิจัย Dualistic Model of Passion ของ  Robert J. Vallerand ได้ยกตัวอย่างเหตุการณ์ที่ Obsessive passion เริ่มส่งผลเสียต่อชีวิต หากการควบคุมถูกเปลี่ยนเป็นการครอบงำ ยกตัวอย่างเช่นนาย A มี passion เรื่องการเล่นฟุตบอลมากๆ หมกหมุ่นจนไม่ทำอะไรอย่างอื่น เพราะได้รับแรงกดดันจากพ่อแม่ว่าต้องเล่นให้ดีต้องเล่นให้เก่ง สุดท้ายแล้วการเล่นแต่ฟุตบอลอย่างเดียวส่งผลให้กิจกรรมอื่นของชีวิตหายไปหมด สะท้อนผลกลับมายังตัวเองให้ไม่มีความสุขจากการถูกกดดัน ทำให้ไม่มีความสุขและไม่สามารถเล่นฟุตบอลให้ดีได้ ก่อนจะส่งผลกระทบไปถึงเรื่องในครอบครัวและสายสัมพันธ์อื่นๆให้พังต่อไปเป็น Domino

ส่วน Harmonious passion จะเป็นแรงขับเคลื่อนที่ต่างไปโดยสิ้นเชิง โดยแรงกระตุ้นที่เกิดขึ้นต้องมาจากกิจกรรมที่เกิดขึ้นแล้วสำคัญกับตัวเรา เป็นกิจกรรมที่สามารถบ่งบอกความเป็นเราได้ และที่สำคัญมักเป็นกิจกรรมที่ให้ทางเลือกเราอย่างอิสระ เราสามารถเลือกที่จะทำหรือไม่ทำก็ได้ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อชีวิตเรา เช่น วาดรูป อ่านหนังสือ หรือให้นิยามแบบภาพรวมว่าเป็นงานอดิเรกก็ได้

Thanatophobia

 

Robert J. Vallerand ได้อธิบายแรงกระตุ้นทั้ง 2 แบบง่ายๆไว้ว่า ถ้าคุณเป็นนักฟุตบอลที่ Obsessive passion เวลาคุณเจ็บคุณฝืนเล่นต่อ คุณจะไม่สามารถควบคุมตัวเอง และมันจะให้คุณก็เจ็บหนักกว่าเดิม แต่ถ้าคุณเลือกให้มันเป็น Harmonious passion คุณจะใช้กระบวนการคิดและบังคับจิตใจได้ว่าเวลาไหนควรเล่น เวลาไหนควรพัก เพื่อให้ผลลัพธ์ออกมาอย่างที่ใจต้องการ ดังนั้นในโลกของการทำงาน Harmonious passion จะมีโอกาสให้ผลที่ดีกว่า Obsessive passion และการที่เราเกิด Obsessive passion มากๆจะทำให้เรามุ่งเป้าไปยังจุดใจจุดหนึ่งมากจนเกินไป จนบางครั้งเราอาจจะพลาดที่จะฝึกฝนและพัฒนาตัวเอง 

 

ถ้าเราอยากมี Passion เราจะสร้างมันขึ้นมาได้ไหม

คำตอบคือ ได้  เราแค่ต้องค้นหาและเลือกสิ่งที่เราชอบจากตัวกิจกรรมจริง ๆ โดยความชอบนั้นจะต้องคงที่คือไม่ใช่แค่ชอบแปปเดียวแล้วเบื่อ โดยการจะรู้ว่าชอบหรือไม่ก็อาจจะต้องผ่านการลองทำดูเพื่อจะได้รู้ว่ารู้สึกอย่างไร คำนึงจากสภาพแวดล้อมเป็นหลัก โดยมีการทดลองงานวิจัยกับเด็กนักเรียนที่ชอบเล่นดนตรี พบว่าถ้าเด็กคนไหนที่ได้รับการ สนันสนุนจากพ่อแม่ในลักษณะอิสระ คือ ให้เด็กได้เลือกเองว่าจะเรียนอะไรบ้างทำอะไรบ้าง จะพบว่าเด็กกลุ่มนี้จะมีลักษณะเป็น harmonious passion ในขณะที่ครอบครัวที่สร้างแรงกดดันอย่างมุ่งผลลัพธ์จะทำให้เด็กมีแรงขับเคลื่อนแบบ obsessive passion 

แต่ในขณะเดียวกันสังคมไทยกลับสร้างกรอบวัฒนธรรมที่ก่อให้เกิด Obsessive passion ตั้งแต่เด็ก 

“ห้องเรียน”   เพราะถ้าเป็นเด็กที่อยู่ในสภาวะของโรงเรียนที่มีการแข่งขันสูง ปัจจัยต่างๆจึงถูกควบคุมขึ้นอย่างอัตโนมัติ จากการต้องขยันเรียนมากๆ เพื่อให้มีคะแนนดีๆ ในบางกรณีอาจจะต้องรักษาภาพพจน์ของพ่อแม่ที่มีหน้าตาทางสังคม เป็นต้น แต่สุดท้ายเมื่อเด็กเหล่านี้เติบโตไป เขาอาจจะหมดไฟในการเรียนมหาวิทยาลัยหรือการทำงานก็เป็นได้ เนื่องจากเป็นวัยที่หมดแรงกดดันจากภายนอกแล้ว จึงกลับมาสู่ข้อสรุปของคำถามที่ว่า “ผิดไหมที่ไม่มี Passion ?” 

ความสุขของแต่ละคนมีหน้าตาไม่เหมือนกัน บางคนคือบ้านหลังโต ๆ พร้อมหน้ากับครอบครัวที่อบอุ่น ของบางคนอาจจะเป็นแค่การดูซีรีส์เรื่องนี้ให้จบเพื่อที่จะคุยกับเพื่อนร่วมงานในวันพรุ่งนี้ได้ก็พอแล้ว ต่อให้วันนี้คุณไม่มีแรงกระตุ้นใด ๆ แต่อย่างน้อยขอแค่คุณมีแรงผลักดันอย่างอื่นที่ขับเคลื่อนพฤติกรรมคุณไปข้างหน้า แล้วทำให้คุณมีความสุขกับการชีวิต เพราะ Passion เพียงอย่างเดียวอาจจะไม่ใช่ทั้งหมดของชีวิตเสมอไป จึงมีเพียงคุณเท่านั้นที่ตอบคำถามนี้ได้

 

อ้างอิง
https://bit.ly/3BFJux0
https://bit.ly/3SeGO0x

 

Tag

Share

Tag

Share

Authors

Authors

RELATED POSTS