คนไทยพร้อมแค่ไหนกับทักษะ Digital

A A
Oct 11, 2022
Oct 11, 2022
A A

คนไทยพร้อมแค่ไหนกับทักษะดิจิทัล

 

  • กลุ่ม Millennials และ Gen Z เป็นผู้ใช้เทคโนโลยีส่วนใหญ่ ส่งผลให้คน Gen นี้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักในเศรษฐกิจดิจิทัล
  • จากรายงานของ World Economic Forum ปี 2563 แสดงให้เห็นว่ามีเพียง 55% ของแรงงานในไทยที่มีความรู้ด้านทักษะดิจิทัลสำหรับการทำงานในอนาคต ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนในการแก้ปัญหาช่องว่างด้านทักษะดิจิทัลของประเทศไทย
  • Google ประเทศไทย จึงได้ร่วมมือกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล และสถาบันการศึกษาพันธมิตรชั้นนำในประเทศไทยเปิดตัวโครงการ “Samart Skills” เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนและผู้ที่มองหางานในทุกสายอาชีพสามารถเข้าถึงการฝึกอบรมโดยใช้หลักสูตร Google Career Certificates จนเป็นบุคลากรที่มีทักษะดิจิทัลพร้อมเข้าทำงานทันที
  •  

ข้อมูลจาก Econimic Forum รายงานว่าทุกวันนี้มากกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรโลกมีอายุต่ำกว่า 30 ปี และเป็นตัวแทนของเยาวชนที่เชื่อมโยงการศึกษา และการบูรณาการมากที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยบทบาทของพวกเขาเหล่านี้จะกลายเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในเศรษฐกิจดิจิทัลในอนาคต พวกเขาจะกลายเป็นนักออกแบบแห่งอนาคตดิจิทัล ดังนั้นเราควรเริ่มปลูกฝังทักษะดิจิทัลให้กับพวเขาตั้งแต่วันนี้ โดยต้องเริ่มจากการเพิ่มทักษะให้กับเยาวชนในด้านต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการมีส่วนร่วมต่อโลกใบนี้อย่างมีวิจารณญาณ ซึ่งรวมถึงทางเทคนิค เช่น การเขียนโปรแกรม และวิทยาศาสตร์ข้อมูล  เด็ก ๆ ควรมีทรัพยากรที่เหมาะสมในทุกมิติของเส้นทางการศึกษาเพื่อปลูกฝังความเข้าใจที่สำคัญเกี่ยวกับการพัฒนาเทคโนโลยี รวมถึงเพิ่มการเข้าถึงเครือข่ายในการเสริมสร้างการเรียนรู้ของพวกเขาให้ครอบคลุม และมีความรับผิดชอบมากขึ้น เพื่อให้เยาวชนได้เติบโตไปเป็นผู้พัฒนาเทคโนโลยีที่ดีขึ้นได้ในอนาคต

การศึกษาจึงมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาประเทศนี้ การเรียนการสอนเองจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมเพื่อให้ตอบโจทย์ตลาดแรงงานในอนาคต สถานศึกษาจึงจำเป็นต้องเพิ่มความรู้ และปรับปรุงให้การศึกษานั้นเหมาะสมกับทักษะ ความสามารถ และความสนใจของผู้เรียน นอกจากนั้นเรื่องการศึกษาอาจจะไม่ใช่เพียหน้าที่โรงเรียนอย่างเดียวอีกต่อไป เพราะการศึกษาอยู่อย่างโดดเดี่ยวไม่ได้ สังคมกับการศึกษาย่อมสอดประสานกันตามบริบทเพราะนอกจากสังคมจะสะท้อนการศึกษาแล้วการศึกษาเองก็เป็นตัวสะท้อนสังคมอีกเช่นเดียวกัน

มีเพียง 55% ของแรงงานในไทยที่มีความรู้ด้านทักษะดิจิทัลสำหรับการทำงานในอนาคต

ผลการวิจัยของนิวยอร์คเผยว่า พบว่าเด็กที่มีอายุระหว่าง 12-18 ปี จำนวน 15,500 ราย พบว่า 24% เป็นคนนอนหลัง 24.00 น. และเป็นคนที่เครียดง่ายกว่าคนที่เข้านอนในเวลา 22.00 น.และมีเด็กที่นอนน้อยกว่า 5 ชั่วโมงมากถึง 71% ซึ่งทำให้เด็กกลุ่มนี้มีความเครียดมากกว่าเด็กที่นอนวันละ 8 ชั่วโมง     ขณะเดียวกัน พ่อแม่ของเด็ก ๆ ที่เข้านอนหลังเที่ยงคืนพบว่ามีถึง 20%ที่ยอมรับว่า ลูก ๆ ของพวกเขาคิดฆ่าตัวตาย ส่วนเด็กที่นอนน้อยกว่า5 ชั่วโมงมีมากถึง 48% ที่คิดจะฆ่าตัวตาย

 

คนไทยมีทักษะดิจิทัลเพียง 55% 

เมื่อปีที่ผ่านมา จากรายงานของ AlphaBeta ระบุไว้ว่าการเปลี่ยนรูปแบบสู่ระบบดิจิทัลจะสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศไทยได้ถึง 2.5 ล้านล้านบาทต่อปี (7.95 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ) ภายในปี 2573 ในขณะที่ 78% ของผู้นำธุรกิจไทยได้วาง กลยุทธ์ดิจิทัลให้เป็นกลยุทธ์หลักเพื่อการเติบโต รวมทั้ง จากรายงานของ World Economic Forum ปี 2563 แสดงให้เห็นว่ามีเพียง 55% ของแรงงานในไทยที่มีความรู้ด้านทักษะดิจิทัลสำหรับการทำงานในอนาคต ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนในการแก้ปัญหาช่องว่างด้านทักษะดิจิทัลของประเทศไทย

Google ประเทศไทย จึงได้ร่วมมือกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม  กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล และสถาบันการศึกษาพันธมิตรชั้นนำในประเทศไทยเปิดตัวโครงการ “Samart Skills” เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนและผู้ที่มองหางานในทุกสายอาชีพสามารถเข้าถึงการฝึกอบรมโดยใช้หลักสูตร Google Career Certificates จนเป็นบุคลากรที่มีทักษะดิจิทัลพร้อมเข้าทำงานทันที โดยแบ่งออกเป็น 6 สาขาอาชีพที่เป็นที่ต้องการขององค์กรในปัจจุบัน ซึ่งเป็นหลักสูตรที่ได้พัฒนาและฝีกอบรมโดยผู้เชี่ยวชาญในสายงานต่างๆ ของ Google เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ทักษะพื้นฐานผ่านการลงมือปฏิบัติจริง โดยผู้สมัครเรียนไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องมาก่อน ทั้งนี้ ผู้เรียนสามารถจบหลักสูตรได้ภายในเวลา 3-6 เดือน พร้อมใบรับรองทักษะอาชีพ สำหรับนำไปใช้เพื่อสมัครงานในตำแหน่งระดับเริ่มต้นในสายงานดิจิทัล นอกจากนี้ เพื่อเป็นการส่งเสริมโอกาสการจ้างงาน Google ได้จัดตั้งกลุ่มพันธมิตรผู้ว่าจ้างซึ่งประกอบด้วยบริษัทต่างๆ กว่า 30 รายที่ให้การยอมรับคุณวุฒิจากหลักสูตรเหล่านี้และสนใจว่าจ้างผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากโครงการ “Samart Skills”

 

ทักษะดิจิทัล

 

 6 สาขาอาชีพของโครงการ “Samart Skills” เพื่อสนับสนุนทักษะดิจิทัลในอนาคตมีดังนี้

 

1.การตลาดดิจิทัลและอีคอมเมิร์ซ( Digital Marketing & E-commerce)

นักการตลาดดิจิทัลทำหน้าที่ใช้เครื่องมือออนไลน์เพื่อเข้าถึงลูกค้า ผู้เชี่ยวชาญด้านอีคอมเมิร์ซทำหน้าที่เพิ่มยอดขายออนไลน์

 

2.การสนับสนุนด้านไอที( IT Support)

ผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีทำหน้าที่แก้ไขปัญหาเพื่อให้คอมพิวเตอร์และเครือข่ายต่าง ๆ ทำงานได้อย่างถูกต้อง

 

3.การออกแบบประสบการณ์ของผู้ใช้( UX Design)

นักออกแบบ UX มีหน้าที่ทำให้ผลิตภัณฑ์ดิจิทัลและผลิตภัณฑ์ที่จับต้องได้จริงใช้งานง่ายและน่าใช้มากขึ้น

 

4.พื้นฐานการประมวลผลแบบคลาวด์ (Google Cloud Computing Foundations)

หลักสูตรนี้ช่วยให้ผู้เรียนได้พัฒนาความสามารถทางเทคนิคในการทำงานของเทคโนโลยีระบบคลาวด์หรือการเปลี่ยนไปสู่อาชีพที่มุ่งเน้นระบบคลาวด์ เป็นพื้นฐานของสายอาชีพที่หลากหลาย รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที และการพัฒนาแอปพลิเคชันบนระบบคลาวด์

 

5.การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics)

นักวิเคราะห์ข้อมูลทำหน้าที่รวบรวม แปลงรูปแบบ และจัดระเบียบข้อมูล เพื่อช่วยเป็นฐานให้การตัดสินใจทางธุรกิจ

 

6.การจัดการโครงการ (Project Management)

ผู้จัดการโครงการทำหน้าที่ดำเนินโครงการต่างๆ ภายในองค์กรให้ลุล่วงและเกิดมูลค่าสูงสุด เรียนรู้การบริการการจัดการเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในโลกปัจจุบัน

ฉากทัศน์ในอนาคต (Future Scenario) ของการศึกษาจะกลายเป็นเรื่องของคนทุกวัย ทุกคนต้องมีการ Reskill และ Upskill ใหม่ ๆ เสมอ และเน้นไปที่ประสบการณ์การเรียนรู้ส่วนบุคคลมากขึ้นเรื่อย ๆ พื้นที่ในการเรียนรู้จะขยายออกไปนอกห้องเรียน ผู้เรียนจะได้เรียนรู้จากการปฏิบัติและการแสดงออกเพิ่มขึ้น สถานการณ์ทั้งหมดเหล่านี้มีนัยสำคัญต่อเป้าหมายการศึกษาตลอดจนระบบการศึกษาทั่วประเทศ การกระจายอำนาจการเรียนรู้อาจเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โรงเรียนอาจกลายเป็นแค่ศูนย์กลางการเรียนรู้ร่วมกัน เกิดการสร้างบทบาทของการเรียนรู้นอกระบบ และการเรียนรู้ตามอัธยาศัย  เพื่อให้ตอบโจทย์ต่อตลาดแรงงานมากขึ้น และดูเหมือนว่าสิ่งที่แน่นอนที่สุดในวันนี้ก็คือการที่เราต้องเตรียมตัวเองให้พร้อมอยู่ตลอด เพื่อรองรับกับอะไรอะไรที่พร้อมจะเกิดด้วยความไม่แน่นอนอยู่เสมอ

สามารถดูรายละเอียดโครงการ “Samart Skills” เพิ่มเติมได้ที่นี่ : https://grow.google/intl/ALL_th/samart-skills/

 

อ้างอิง :
https://www.weforum.org/agenda/2022/10/how-the-global-youth-is-securing-responsible-ai/

 

Share

Authors

Authors

RELATED POSTS